วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 8 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ


 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support System : DSS) จะช่วยให้ข้อมูลแก่ผู้บริหารเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า เช่น อาจจะต้องรับมือกับปัญหาการหยุดนัดงานที่มีผลต่อตารางการผลิตอย่างไร เป็นต้น ผู้บริหารมักต้องรับมือกับปัญหาที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า

        พิจารณาลักษณะเด่น :
  • ระบบประมวลผลรายการ ทำหน้าที่หลักในการบันทึกข้อมูล
  • ระบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ทำหน้าที่สรุปข้อมูลลงในรายงานที่กำหนดรูปแบบไว้ล่วงหน้า
  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล และผลิตรายงานซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัว ระบบสนุบสนุนการตัดสินใจจีงเป็นเครื่องมือที่ยืดหยุ่นในการวิเคราะห์ข้อมูล              
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่
  • ผู้ใช้ (User) ทำหน้าที่ตัดสินใจ โดยทั่วไปมักเป็นผู้บริหารระดับกลาง
  • ซอร์ฟแวร์ (Software) เป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังคอยจัดการรายละเอียดต่างๆในการทำงาน สนับสนุนส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่เข้าใจง่าย เช่น อยู่ในรูปแบบเมนูหรือไอคอน เป็นต้น
  • ข้อมูล (Data) ปกติแล้วจะถูกเก็บในฐานข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลภายใน ซึ่งได้จากระบบประมวลผลรายการ และข้อมูลภายนอก เช่น ข้อมูลที่ได้จากหอการค้าและรัฐบาล
  • แบบจำลองการตัดสินใจ (Decision model) ช่วยให้ระบบสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
          1. แบบจำลองกลยุทธ์ (Strategic model) ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงวางแผนระยะยาว เช่นกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัท
          2. แบบจำลองยุทธวิธี (Tactical model) ช่วยให้ผู้บริหารระดับกลางในการควบคุมการทำงานในองค์กร เช่น การวางแผนการเงิน
          3. แบบจำลองการปฏิบัติงาน (Operational model) ช่วยให้ผู้บริหารระดับล่างในการปฏิบัติงานประจำวัน เช่น การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ
       นอกจากนี้ยังมีระบบสนับสนุนการตัดสินใจซึ่งออกแบบมาสำหรับการช่วยในการตัดสินใจแบบเป็นทีม รู้จักกันในชื่อ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision Support System : GDSS) ซึ่งมีเครื่องมือสนับสนุนการประชุมกลุ่ม และการทำงานเป็นกลุ่ม


ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

      ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่สำคัญ แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน
  1. ระบบย่อยในการจัดการข้อมูล (Data management subsystem) ได้แก่ฐานข้อมูลที่บรรจุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นๆ และถูกจัดการโดยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems : DBMS)
  2. ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ (Model management subsystem) เป็นชุดซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่รวมการทำงานเช่น การทำงานด้านการเงิน, สถิติ, วิทยาการการจัดการ หรือตัวแบบเชิงปริมาณอื่นๆ ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล และมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการที่เหมาะสม เรียกว่า ระบบจัดการ ฐานตัวแบบ (Model base management system : MBMS)
  3. ระบบย่อยในการจัดการความรู้ (Knowledge management subsystem) เป็นระบบย่อยซึ่งสนับสนุนระบบย่อยอื่นๆ หรือเป็นส่วนประกอบแบบอิสระไม่ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยให้ข้อมูลหรือความรู้แก่ ผู้ตัดสินใจ
  4. ระบบย่อยในการติดต่อกับผู้ใช้ (User interface subsystem) ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั่งงานระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยผ่านระบบย่อยนี้

ประเภทของการตัดสินใจ
ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท ได้แก่  

       1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง ( Structure Decision) บางครั้งเรียกว่าแบบกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว (programmed) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงมีมาตรฐานในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยวิธีการในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม หรือการเลือกกลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดเมื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด หรือเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด การตัดสินใจแบบนี้จึงมักใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) หรือศาสตร์ทางด้านวิทยาการ การจัดการ (Management Science) หรือการวิจัยดำเนินงาน (Operation Research) เข้ามาใช้ โดยในบางครั้งอาจนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญเข้ามาใช้ร่วมด้วย  ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบโครงสร้าง ได้แก่ การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับสินค้าคงคลัง จะต้องสั่งของเข้า(Order Entry) ครั้งละเท่าไร เมื่อใด การวิเคราะห์งบประมาณ (Budget Analysis) ที่ต้องใช้ในการจัดการต่างๆ การตัดสินใจเรื่องการลงทุน จะลงทุนอะไร ที่ตั้งโกดังเก็บสินค้า (Warehouse Location) ควรตั้งที่ไหน, ระบบการ จัดส่ง/การจำหน่าย (Distribution System) ควรเป็นอย่างไร เป็นต้น

         2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (Unstructured Decision) บางครั้งเรียกว่าแบบไม่เคยกำหนดล่วงหน้ามาก่อน ( Nonprogrammed ) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจน หรือมีความซับซ้อน จึงไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาแน่นอน เป็นปัญหาที่ไม่มีการระบุวิธีแก้ไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง การตัดสินใจกับปัญหาลักษณะนี้จะไม่มีเครื่องมืออะไรมาช่วย มักเป็นปัญหาของผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้สัญชาตญาณ ประสบการณ์ และความรู้ของ ผู้บริหารในการตัดสินใจ ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง เช่น การวางแผนการบริการใหม่, การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม หรือการเลือกกลุ่มของโครงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีหน้า

          3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Decision) เป็นการตัดสินใจแบผสมระหว่างแบบโครงสร้าง และแบบไม่เป็นโครงสร้าง คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบโครงสร้างได้ แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้ โดยปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างนี้จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐาน และการพิจารณาโดยมนุษย์รวมเข้าไว้ด้วยกัน คือมีลักษณะเป็นกึ่ง โครงสร้าง แต่มีความซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนจึงไม่ชัดเจนว่าจะมี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น