โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี(Information Technology Infrastructure)
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีในเอกสารประกอบการสอนฉบับนี้จะพิจารณาที่ฮาร์ดแวร์และ ซอฟท์แวร์ที่เลือกใช้ให้เหมาะสมในการดําเนินธุรกิจ e-Commerce และเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าจะทํางานได้ นั้นจะต้องประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ ส่วนที่ 1 ตัวเครื่องหรือที่เรียกกันว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซึ่งประกอบไปด้วย จอภาพ ชุดซีพียู คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ และแผ่นดิสก์ ส่วนที่ 2 เรียกว่า ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งหมายถึงโปรแกรมต่าง ๆ ที่ไว้ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานตามที่เราต้องการ ส่วน สุดท้าย เรียกว่า พีเพิลแวร์ (Peopleware) ซึ่งส่วนนี้จะหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ไม่ ว่าจะเป็นพนักงานป้อนข้อมูล นักเขียนโปรแกรม หรือนักวิเคราะห์ออกแบบระบบงานต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ ทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นส่วนประกอบที่สําคัญของ Computer ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้ว Computer ก็ไม่ สามารถใช้งานได้เลย ดังนั้นหัวข้อนี้จะอธิบายองค์ประกอบพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดังต่อไปนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลที่บันทึกไว้ในสื่อต่าง ๆ เข้าไปเก็บ ไว้ในหน่วยความจํา สําหรับอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูล ได้แก่ Keyboard, Mouse, Touch Screen และ Scanner เป็นต้น
1.2 หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit) ทําหน้าที่ในการคํานวณและ ประมวลผล ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สําคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ สําหรับในหน่วยนี้มีหน้าที่ 2 อย่างคือ ควบคุมการทํางาน คํานวณและตรรกะ อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่นี้ได้แก่ CPU
1.3 หน่วยความจํา (Memory Unit) ทําหน้าที่เก็บข้อมูล และคําสั่งต่าง ๆ ที่ส่งมาจากหน่วย รับข้อมูลหรือส่งมาจากหน่วยประมวลผลกลางมาเก็บไว้ เพื่อรอการเรียกใช้หรือรอการ ประมวลผลภายหลัง สําหรับหน่วยความจําแบ่งเป็นหน่วยความจําหลัก ซึ่งในที่นี้คือ ROM กับ RAM และหน่วยความจําสํารอง ซึ่งได้แก่ เทปแม่เหล็ก,Disk, Tape เป็นต้น
1.4 หน่วยแสดงผลลัพธ์ ( Output Unit) ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้มาจากกร ประมวลผล อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เป็นหน่วยแสดงผลลัพธ์ ได้แก่ Monitor, Printer และ Plotter เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ หมายถึง ส่วนที่ทําหน้าที่เป็นคําสั่งที่ใช้ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจ เรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคําสั่งหรือชุดคําสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางาน เรา ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทําอะไรก็เขียนเป็นคําสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทําอย่าง ละเอียดและครบถ้วน ผู้ที่เขียนคําสั่งหรือโปรแกรมจะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สําหรับการ เขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนําไปใช้ใน งานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคํานวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็น ต้น ซอฟต์แวร์ยังสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ตามหน้าที่การใช้งานได
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software) ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง โปรแกรมที่มีหน้าที่ควบคุมการทํางานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอํานวย ความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทํางานดังนี้ - OS (Operating System)คือระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ทํางานเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถ ปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออํานวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ - Translation Programคือ โปรแกรมแปลภาษาต่างๆ ให้เป็นภาษาเครื่องซึ่งเป็นภาษาที่ เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามคําสั่งได้ โปรแกรแปลภาษาน
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
2.3 User Program คือ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เอง โดยใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ทาง คอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา BSDIC , COBOL , PSDCSL , C , ASSEMBLY FORTRAN ฯลฯ ซึ่งการที่จะเลือกใช้ภาษาใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้นด้วย เช่น โปรแกรมระบบบัญชี, โปแกรมควบคุมสต็อกสินค้า , โปแกรมแฟ้มทะเบียนประวัติ โปรแกรมคํานวณภาษี,โปรแกรมคิดเงินเดือน เป็นต้น
2.4 Package Program คือ โปรแกรมสําเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมา โดยบริษัทต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนําไปใช้งานต่าง ๆ ได้ทันทีตัวอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทําเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
2.3 User Program คือ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เอง โดยใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ทาง คอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา BSDIC , COBOL , PSDCSL , C , ASSEMBLY FORTRAN ฯลฯ ซึ่งการที่จะเลือกใช้ภาษาใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้นด้วย เช่น โปรแกรมระบบบัญชี, โปแกรมควบคุมสต็อกสินค้า , โปแกรมแฟ้มทะเบียนประวัติ โปรแกรมคํานวณภาษี,โปรแกรมคิดเงินเดือน เป็นต้น
2.4 Package Program คือ โปรแกรมสําเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมา โดยบริษัทต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนําไปใช้งานต่าง ๆ ได้ทันทีตัวอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทําเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Business คือ กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่าย ที่เรียกว่า องค์การเครือข่ายร่วมInternetworked Network ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการ โดยใช้สื่อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆและครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร แคตตาล็อคอิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกล และรูปแบบต่างๆที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูล ที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์ การประมูล การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ การขายตรง การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล บริการด้านการเงิน บริการด้านกฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข การศึกษา ศูนย์การค้าเสมือน Virtual Mall)
ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ข้อแตกต่างระหว่างการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับการทำธุรกิจทั่วไป ข้อแตกต่างระหว่างการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับการทำธุรกิจทั่วไป คือ
1. การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคโดยการ ใช้ระบบข้อมูลร่วมกันในการบริหารสินค้าคงคลัง การขนส่งสินค้า และช่วยเพิ่มประสิทธิผล ความคุ้มค่าในการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ
2. การตอบสนองเพื่อการแข่งขันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยตอบสนองการแข่งขันทางธุรกิจได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมความพร้อม ในทุกด้าน เช่น ช่องทางการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่สะดวกและรวดเร็ว การจัดวางสินค้าหน้าร้านบนเว็บไซต์ที่ง่ายต่อการใช้งาน คุณภาพสินค้าและราคาที่เหมาะสมสามารถเปรียบเทียบได้ มีระเบียบและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน และสามารถส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าได้ตามระยะเวลาที่ได้แจ้งไว้ รวมถึงวิธีการอื่น ๆ ที่สร้างความแตกต่าง หรือสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุด ส่งผลให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
3. การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการค้นหาข้อมูลของสินค้า เปรียบเทียบราคา ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา
4. การควบคุมและการสร้างปฏิสัมพันธ์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยให้ลูกค้าสามารถควบคุมกิจกรรมทางธุรกิจในระหว่างการดำเนินงาน เช่น การค้นหาสินค้า การเปรียบเทียบสินค้าและราคา การติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น หรือแม้แต่การยกเลิกการสั่งซื้อได้ด้วยตนเอง โดยการโต้ตอบผ่านทางจอภาพ ปราศจากอิทธิพล และการครอบงำของผู้ขาย (ผู้ประกอบการ) ที่จะชวนเชื่อหรือชักจูงให้ซื้อสินค้าและบริการ
5. การสร้างร้านค้าเสมือนจริง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน ด้านสถานประกอบการ (ร้านค้า) ทำให้ลูกค้าประหยัด เวลาในการเดินทางเพื่อมาซื้อสินค้าและบริการที่ร้านค้าของผู้ประกอบการ
6. การติดตามพฤติกรรมของลูกค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยติดตามประวัติของลูกค้าที่มาใช้บริการผ่านทางเว็บไซต์ได้ ทั้งนี้เว็บไซต์ดังกล่าวจะต้องติดตั้งระบบติดตาม (tracking system) เพื่อการค้นหาและติดตามข้อมูลสินค้าและบริการที่ลูกค้าได้เข้าชมภายในเว็บไซ ต์ และพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ระยะเวลาในการเข้าชมเว็บไซต์ สินค้าและบริการที่สนใจและทัศนคติ และค่านิยมที่มีต่อสินค้าและบริการ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงความต้องการมาก ที่สุด และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาบริหารลูกค้าสัมพันธ์ได้ (Customer Relation Management–CRM)
7. โครงข่ายเศรษฐกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการใช้เพิ่มช่องทางการ ค้าผ่านระบบเครือข่าย (network system) ได้แก่ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet system) อินทราเน็ต (intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (extranet) หรือแม้แต่เครือข่ายไร้สาย (wireless communication) ที่นิยมใช้กับเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่เรียกว่า โมบายคอมเมิร์ซ (mobile commerce–m-Commerce) ทำให้ระบบเครือข่ายเหล่านี้มีการเชื่อมโยงติดต่อกันเป็นโครงข่ายเศรษฐกิจ (network economics) ที่มีขนาดใหญ่และไร้พรมแดน นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงและกว้างไกลยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น